วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

โครงงานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องการใช้คำราชาศัพท์


บทที่ ๑
บทนำ
ชื่อโครงงาน
โครงงานการใช้คำราชาศัพท์

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
        การเรียนภาษาไทยมีบทเรียนที่น่าสนใจมาก  โดยเฉพาะ  บทเรียน เรื่อง คำราชาศัพท์ ซึ่งทางคณะผู้จัดทำมีความคิดเห็นว่า คำราชาศัพท์ เป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับผู้ที่ศึกษาแล้วไม่ได้นำไปใช้  ดังนั้น ทางคณะผู้จัดทำ จึงได้จัดทำโครงงานภาษาไทยเรื่องคำราชาศัพท์ขึ้นเพื่อทำให้ผู้ที่ศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจ ในคำราชาศัพท์มากขึ้น  ทั้งยังได้รับความสนุกสนานจากเกม  ที่ใช้เป็นสื่อ
ในการเรียนการสอน  ทำให้การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อ  และผู้ที่ศึกษาจะได้มีความกระตือรือร้นในการศึกษามากยิ่งขึ้นด้วย
วัตถุประสงค์
        ๑.  เพื่อให้ความรู้ในเรื่องคำราชาศัพท์
        ๒.  เพื่อนำคำราชาศัพท์ไปใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละโอกาส
        ๓.  เพื่อทำให้ผู้ศึกษามีความกระตือรือร้นในการเรียนมากยิ่งขึ้น
        ๔.  เพื่อทำให้ผู้ศึกษามีความสนุกสนาน  เพลิดเพลิน
        ๕.  เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผลงานในการทำโครงงาน
สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า
        ผู้ทำการศึกษาในเรื่องคำราชาศัพท์   และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
        ๑.  ศึกษาคำราชาศัพท์  ที่มีอยู่ในบทเรียน  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย
        ๒.  ศึกษาคำราชาศัพท์ จากอินเตอร์เน็ต
        ๓.  ศึกษาคำราชาศัพท์จากหนังสือพิมพ์และสื่อต่างๆ

บทที่ ๒
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ราชาศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำที่คนทั่วไปใช้เมื่อพูดกับหรือพูดกับพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์หรือพระญาติของพระเจ้าแผ่นดิน คำที่ใช้กล่าวถึงสิ่งต่างๆที่เป็นของพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์  หรือเกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์ต้องเป็นคำราชาศัพท์

ราชาศัพท์ที่ใช้ต่างกันตามพระอิสริยศักดิ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                 ราชาศัพท์
คำสามัญ
พระราชโองการ
คำสั่ง
พระบรมราโชวาท
โอวาท
พระราชดำรัส
คำพูด(ใช้เมื่อพูดเป็นกลางๆ)
พระราชกระแสรับสั่ง
คำพูด(ใช้เมื่อพูดกับผู้ใดผู้หนึ่ง)
วันพระบรมราชสมภพ
วันเกิด
พระชนมพรรษา...พรรษา
อายุ...ปี
พระมหากรุณาธิคุณ
พระคุณ
พระมหากรุณา
ความกรุณา
พระราชหัตถเลขา
จดหมาย


บทที่ 3
วิธีการดำเนินงาน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
๑.   ผู้ศึกษานำเสนอหัวข้อโครงงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำและกำหนดขอบเขตในการทำโครงงาน                                                                                                
๒.  ผู้ศึกษาร่วมกันประชุมวางแผนวิเคราะห์ตามหัวข้อวัตถุประสงค์ของโครงงาน
๓.   ผู้ศึกษาร่วมกันค้นคว้าจากหนังสือต่างๆดังนี้หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์และสื่อต่างๆและจากอินเตอร์เน็ต
.   ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงงานเพื่อมาวิเคราะห์และสรุปเนื้อหาที่สำคัญที่จะนำมาจัดทำโครงงาน
๕.   นำเสนอผลงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อรายงานผลการดำเนินงาน
๖.    จัดทำคู่มือเพื่อใช้สำหรับศึกษาและรายงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษา
  
บทที่๔
ผลการศึกษา
        ความหมายของคำราชาศัพท์
        ๑)  คำราชาศัพท์นี้พระยาอุปกิตศิลปสาร ได้อธิบายไว้ในหนังสือวจีวิภาคของท่านว่า หมายถึง ศัพท์สำหรับพระราชาหรือศัพท์หลวง แต่ปัจจุบัน หมายถึง   ระเบียบการใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องตามฐานะของบุคคลได้แก่บุคคลที่เคารพตั้งแต่พระราชา   พระราชวงศ์   พระภิกษุ  ข้าราชการ รวมถึงคำที่ใช้กับสุภาพชนทั่วไป 
        )  คำราชาศัพท์ ตามตำราหลักภาษาไทย หมายถึง ศัพท์หรือถ้อยคำเฉพาะ บุคคลทั่วไป ซึ่งใช้กับบุคคล ๕ ระดับ คือ พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ พระภิกษุ ข้าราชการ และสุภาพชน
        ) คำราชาศัพท์ในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง ถ้อยคำสุภาพถูกแบบแผน สำหรับใช้กับบุคคลและสรรพสิ่งทั้งปวง
บทที่ ๕
สรุปผลการศึกษา
        จากการทำโครงงานวิชาภาษาไทย เรื่องคำราชาศัพท์ ได้มีการสำรวจความพึงพอใจจากนักเรียน  ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  และจากผลการสำรวจจะเห็นได้ว่า  ผู้ประเมินมี
ความพึงพอใจในผลงานและการนำเสนอ  ซึ่งจัดว่าอยู่ในระดับเกณฑ์ดีเป็นส่วนใหญ่  อีกทั้งยังมีความพึงพอใจในเนื้อหาสาระ  ได้รับความสนุกสนานจากการทำกิจกรรม  มีความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับคำราชาศัพท์มากยิ่งขึ้น  อีกทั้งยังสามารถ  นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ  ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม  นอกจากนี้ยังได้รับความพึงพอใจในความเหมาะสม  ที่จัดเป็นสื่อการเรียน
ประโยชน์ที่ได้รับ
        ๑.  ได้รับความรู้ในเรื่องคำราชาศัพท์
        ๒.  สามารถนำคำราชาศัพท์ไปใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละโอกาสได้
        ๓.  ผู้ที่ศึกษามีความกระตือรือร้นในการเรียนมากยิ่งขึ้น
        ๔.  ผู้ที่ศึกษาได้รับความสนุกสนาน  เพลิดเพลิน
            .  เกิดความสามัคคีภายในกลุ่ม
ข้อเสนอแนะ
        ๑.  ควรมีการจัดทำสื่อการเรียนการสอนในเรื่องอื่น ๆ อีก
        ๒.  ควรหาคำราชาศัพท์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
        ๓.  ควรปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องตามอักขระวิธี  เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภาษาไทย
ž             สมาชิก
žนางสาวสุพรรณี    นนพล
    นางสาววราภรณ์  คำหงษา
žนางสาววิภาพร    ผลาผล
žนางสาวสุพัตรา  เมสุ
   นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6/1
  ครูที่ปรึกษาโครงงาน
      อาจารย์สุดา   พงษ์สิทธิศักดิ์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น