วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

ความสำคัญของคำราชาศัพท์

ราชาศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำที่คนทั่วไปใช้เมื่อพูดกับหรือพูดกับพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์หรือพระญาติของพระเจ้าแผ่นดิน คำที่ใช้กล่าวถึงสิ่งต่างๆที่เป็นของพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์  หรือเกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์ต้องเป็นคำราชาศัพท์
ข้อสังเกตบางประการในการใช้ราชาศัพท์

คำที่เป็นราชาศัพท์ ถ้าเป็นคำนามมักมีคำว่า พระ หรือ  พระราช นำหน้า เช่น
         พระองค์                  พระพักตร์                พระเนตร              พระบาท
          พระราชทรัพย์         พระราชวินิจฉัย       พระราชโทรเลข   

ถ้าเป็นคำกริยา มักมีคำว่า  ทรง  ทรงพระ หรือ ทรงพระราช นำหน้า  เช่น
          ทรงยืน               ทรงทักทาย            ทรงเรือใบ            ทรงม้า
          ทรงพระสรวล      ทรงพระดำริ         ทรงพระอักษร
           ทรงพระราชนิพนธ์        ทรงพระราชปรารภ           ทรงพระราชวินิจฉัย

คำบางคำเป็นกริยาราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ต้องมี  ทรง  ทรงพระ   หรือ  ทรงพระราช นำหน้า เช่น
          เสวย (กิน)                                                  บรรทม(นอน)
          โปรด(ชอบ,รัก)                                             พระราชทาน(ให้)
           ประทับ(นั่ง)                                                กริ้ว(โกรธ)                                        
           เสด็จพระราชดำเนิน(เดินทางไป)                                        เสด็จขึ้น(ขึ้น)

คำราชาศัพท์


ความหมายของคำราชาศัพท์

 


    ๑)  คำราชาศัพท์นี้พระยาอุปกิตศิลปสาร ได้อธิบายไว้ในหนังสือวจีวิภาคของท่านว่า หมายถึง ศัพท์สำหรับพระราชาหรือศัพท์หลวง แต่ปัจจุบัน หมายถึง   ระเบียบการใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องตามฐานะของบุคคลได้แก่บุคคลที่เคารพตั้งแต่พระราชา   พระราชวงศ์   พระภิกษุ  ข้าราชการ รวมถึงคำที่ใช้กับสุภาพชนทั่วไป 
    )  คำราชาศัพท์ ตามตำราหลักภาษาไทย หมายถึง ศัพท์หรือถ้อยคำเฉพาะ บุคคลทั่วไป ซึ่งใช้กับบุคคล ๕ ระดับ คือ พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ พระภิกษุ ข้าราชการ และสุภาพชน
   ) คำราชาศัพท์ในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง ถ้อยคำสุภาพถูกแบบแผน สำหรับใช้กับบุคคลและสรรพสิ่งทั้งปวง
 ที่มาของคำราชาศัพท์
   ๑)  มาจากการเทิดทูนพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทรงเป็นประมุขของชาติ
  ๒)  มาจากคำไทยดั้งเดิม เช่น พระปาง เส้นพระเจ้า พระเจ้าพี่ยาเธอ   เป็นต้น 
  )  มาจากคำไทยที่รับมาจากภาษาอื่น  อันได้แก่ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร เช่น พระบิดา พระปิตุฉา พระเนตร พระหัตถ์ เป็นต้น
ความสำคัญของคำราชาศัพท์
) เพื่อให้เราใช้ถ้อยคำในการพูดจาได้ไพเราะ ถูกต้องตามกาลเทศะและฐานะแห่งบุคคล เพราะราชาศัพท์มิได้หมายถึงคำพูดที่เกี่ยวกับพระราชาเท่านั้น
)  ราชาศัพท์ เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของชาติ การใช้ราชาศัพท์ที่ถูกต้องเป็นการแสดงความประณีต นุ่มนวล น่าฟังของภาษาอย่างหนึ่งตลอดจนเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของเรา
)  การเรียนรู้ราชาศัพท์ย่อมทำให้เราเข้าถึงรสของวรรณคดี เพราะในวรรณคดีมีราชาศัพท์ปนอยู่มาก จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ราชาศัพท์เพื่อช่วยให้เกิดความซาบซึ้งในรสคำประพันธ์นั้นๆ
)  การเรียนรู้ราชาศัพท์ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพให้กับตนเอง ทำให้เข้าวงสมาคมได้โดยไม่เคอะเขิน ไม่เป็นที่เย้ยหยันของบุคคลที่พบเห็น การติดต่อกับบุคคลทั่วไปทั้งในวงสมาคมและวงราชการ หากไม่รู้จักใช้คำสุภาพตามฐานะแล้ว ย่อมได้รับการดูหมิ่นว่าไร้การศึกษา

ข้อสังเกตบางประการในการใช้ราชาศัพท์
คำที่เป็นราชาศัพท์ ถ้าเป็นคำนามมักมีคำว่า พระ หรือ  พระราช นำหน้า เช่น
     พระองค์  พระพักตร์   พระเนตร    พระบาท
     พระราชทรัพย์    พระราชวินิจฉัย    พระราชโทรเลข   
ถ้าเป็นคำกริยา มักมีคำว่า  ทรง  ทรงพระ หรือ ทรงพระราช นำหน้า  เช่น
    ทรงยืน  ทรงทักทาย  ทรงเรือใบ  ทรงม้า  ทรงพระสรวล ทรงพระดำริ 
    ทรงพระอักษร  ทรงพระราชนิพนธ์  ทรงพระราชปรารภ   ทรงพระราชวินิจฉัย
คำบางคำเป็นกริยาราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ต้องมี  ทรง  ทรงพระ   หรือ  ทรงพระราช นำหน้า เช่น
    เสวย (กิน)    บรรทม(นอน)     โปรด(ชอบ,รัก)   
    พระราชทาน(ให้)   ประทับ(นั่ง)    กริ้ว(โกรธ) 
    เสด็จพระราชดำเนิน(เดินทางไป)    เสด็จขึ้น(ขึ้น)

ราชาศัพท์ที่ใช้ต่างกันตามพระอิสริยศักดิ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                 ราชาศัพท์
คำสามัญ
พระราชโองการ
คำสั่ง
พระบรมราโชวาท
โอวาท
พระราชดำรัส
คำพูด(ใช้เมื่อพูดเป็นกลางๆ)
พระราชกระแสรับสั่ง
คำพูด(ใช้เมื่อพูดกับผู้ใดผู้หนึ่ง)
วันพระบรมราชสมภพ
วันเกิด
พระชนมพรรษา...พรรษา
อายุ...ปี
พระมหากรุณาธิคุณ
พระคุณ
พระมหากรุณา
ความกรุณา
พระราชหัตถเลขา
จดหมาย



สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนาถ   
           


 ราชาศัพท์
คำสามัญ
พระราชเสาวนีย์
คำสั่ง
พระราโชวาท
โอวาท
พระราชดำรัส
คำพูด(ใช้เมื่อพูดเป็นกลางๆ)
พระราชกระแสรับสั่ง
คำพูด(ใช้เมื่อพูดกับผู้ใดผู้หนึ่ง)
วันพระราชสมภพ
วันเกิด
พระชนมพรรษา...พรรษา
อายุ...ปี
พระมหากรุณาธิคุณ
พระคุณ
พระมหากรุณา
ความกรุณา
ลายพระราชหัตถ์
จดหมาย
พระฉายาลักษณ์
รูปถ่าย
พระสาทิสลักษณ์
รูปเขียน
พระนามาภิไธย
ชื่อ



สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร



                   ราชาศัพท์
คำสามัญ
พระราชบัณฑูร
คำสั่ง
พระราโชวาท
โอวาท
พระราชดำรัส
คำพูด
พระราชกระแสรับสั่ง
คำพูด
วันพระราชสมภพ
วันเกิด
พระชนมพรรษา...พรรษา
อายุ...ปี
พระมหากรุณาธิคุณ
พระคุณ
พระมหากรุณา
ความกรุณา
ลายพระราชหัตถ์
จดหมาย
พระฉายาลักษณ์
รูปถ่าย




         ราชาศัพท์ที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นราชาศัพท์ที่กำหนดให้ใช้ต่างกันตามพระอิสริยศักดิ์ของพระบรมวงศ์ชั้นสูงเท่านั้น คำราชาศัพท์อื่นๆ     ไม่ได้กำหนดให้ใช้แตกต่างกันจึงไม่ได้นำมากล่าวในที่นี้






ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา
        ๑.  ได้รับความรู้ในเรื่องคำราชาศัพท์
        ๒.  สามารถนำคำราชาศัพท์ไปใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละโอกาสได้
        ๓.  ผู้ที่ศึกษามีความกระตือรือร้นในการเรียนมากยิ่งขึ้น
        ๔.  ผู้ที่ศึกษาได้รับความสนุกสนาน  เพลิดเพลินในการใช้คำราชาศัพท์มากขึ้น